Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб งานพระบรมศพพระพุทธเจ้าหลวง 2453 в хорошем качестве

งานพระบรมศพพระพุทธเจ้าหลวง 2453 5 лет назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



งานพระบรมศพพระพุทธเจ้าหลวง 2453

ฟิล์ม ๓๕ มม. / ขาวดำ / เงียบ / ๒.๒๗ นาที ๒๔๕๓ ผู้สร้าง Pathé Frères - The Japanese Film (Japan) ภาพยนตร์ข่าวบันทึกพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ ระบุชื่อบริษัทผู้สร้างว่า The Japanese Film และมีคำบรรยายเป็นภาษาเยอรมัน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพยนตร์เรื่อง “ขบวนแห่พระบรมศพพระพุทธเจ้าหลวง (The funeral procession of the late King of Siam)” ของโรงหนังญี่ปุ่นหลวง (The Royal Japanese Cinematograph) ซึ่งเป็นโรงหนังถาวรโรงแรกของสยาม ทางโรงมีช่างถ่ายหนังของตนเอง มีหลักฐานแจ้งความในหนังสือพิมพ์บางกอกไทมส์ว่า โรงหนังญี่ปุ่นหลวงได้ถ่ายหนังข่าวเรื่องดังกล่าวและนำออกฉายที่โรงของตน ในเดือนมิถุนายน ๒๔๕๔ และคงจะมีการจำหน่ายให้บริษัทหนังในต่างประเทศด้วย โดย ชลิดา เอื้อบำรุงจิต ในขณะดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ได้ไปศึกษาค้นคว้าและพบภาพยนตร์นี้ในห้องสมุดภาพยนตร์ของพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ EYE Film Museum ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อพ.ศ. ๒๕๖๐ จึงได้ขอทำสำเนาเพื่อมาจัดเก็บที่ไว้หอภาพยนตร์ สิ่งที่ปรากฏอยู่ในหนังข่าวเรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ การก่อสร้างพระเมรุ ซึ่งออกแบบและสร้างโดยกรมโยธาธิการ โดยมีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นผู้กำกับดูแล มีเจ้าหน้าที่สำนักช่างสิบหมู่เป็นช่างเขียนและช่างสลัก นับเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างพระเมรุแบบใหม่ของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสร้างเป็นพระเมรุน้อยทรงบุษบก ล้อมด้วยเมรุรายสี่ทิศ ค่อยๆ ลดรูปเป็นคดซ่างระเบียง ทับเกษตร ซึ่งแต่เดิมในสมัยรัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๔ จะเป็นแบบพระเมรุทรงปราสาท คือมีโครงสร้างใหญ่โตอย่างปราสาท และสร้างเรือนบุษบกบัลลังก์หรือเมรุทองซ้อนอยู่ภายใน การเปลี่ยนแปลงการสร้างพระเมรุมาศนี้เกิดจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับเปลี่ยนนโยบายต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในห้วงเวลานั้น รวมถึงแนวคิดเรื่องพระราชพิธีพระบรมศพที่มีพระราชประสงค์ให้ก่อสร้างพระเมรุไม่ยิ่งใหญ่อย่างแต่ก่อน ถัดมาคือวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๕๓ เป็นภาพพระราชพิธีอันเชิญพระบรมศพขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระมหาพิไชยราชรถ หลังจากอันเชิญพระบรมศพออกจากพระบรมมหาราชวังมายังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร โดยมีพระยาโกษา พระยาเทพาภรณ์ เจ้าพนักงานภูษามาลาทั้ง ๒ ขึ้นประคองพระบรมโกษฐ ตั้งริ้วขบวนเป็นพยุหยาตรา ประกอบด้วยเครื่องเฉลิมพระเกียรติยศ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขึ้นราชรถทรงอ่านพระอภิธรรม ตั้งริ้วเป็นขบวนพยุหยาตราแห่ขบวนพระบรมศพสู่พระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ดำเนินตามพระบรมศพในขบวนตอนที่ ๑ และอัครราชทูตผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ เสนาบดี เจ้าพระยาเจ้าประเทศราช ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ตามพระบรมศพในขบวนตอนที่ ๒ และขบวนข้าราชการกระทรวงอื่นๆ รวม ๑๓ ตอน และเหตุการณ์สุดท้าย เป็นภาพพระราชพิธีการอัญเชิญพระบรมศพขึ้นสู่พระเมรุมาศ หลังจากเวียนพระเมรุอุตราวัฏ ๓ รอบแล้ว และเมื่อพระมหาพิชัยราชรถประทับหน้าพลับพลา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นประทับบนชาลาฐานพระเมรุมาศ พระยาเทพาภรณ์ได้อัญเชิญพระบรมศพสู่พระเมรุมาศเกรินขึ้นบันไดนาคสู่พระเมรุทอง เมื่อถึงชั้นพระเมรุแล้วจึงปิดพระวิสูตร จากนั้นภาพตัดมาที่พสกนิกรนุ่งขาวห่มขาวมาเข้าเฝ้าสักการะพระบรมศพและน้อมส่งเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง แม้ภาพยนตร์นี้จะบันทึกเหตุการณ์พระราชพิธีไว้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็เป็นบทบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าและความสำคัญยิ่งต่อคนไทย เพราะนับเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่บันทึกเหตุการณ์พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระเจ้าแผ่นดินสยาม การบันทึกภาพเคลื่อนไหวนี้ ได้เปลี่ยนกระบวนการการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เป็นการยืนยันเหตุการณ์อันสำคัญทางประวัติศาสตร์ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือการที่ภาพยนตร์ชุดนี้ได้บอกเล่ารายละเอียดแวดล้อมเหตุการณ์ดังกล่าว อันเป็นประโยชน์ในการต่อยอดทางการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ให้กับสังคมสืบไป หมายเหตุ ชื่อเรื่องที่อยู่ใน [ ... ] หมายถึง ภาพยนตร์เรื่องนั้นไม่มีไตเติ้ลชื่อเรื่องปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เป็นชื่อที่หอภาพยนตร์ตั้งขึ้นเอง ที่มาของภาพยนตร์ : EYE Film Museum www.eyefilm.nl

Comments