Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб สมรภูมิเดือด"ทุ่งไหหิน"สปป.ลาว นรกบนดินที่ถูกลืม ประวัติความเป็นมาของทุ่งไหหิน в хорошем качестве

สมรภูมิเดือด"ทุ่งไหหิน"สปป.ลาว นรกบนดินที่ถูกลืม ประวัติความเป็นมาของทุ่งไหหิน 4 дня назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



สมรภูมิเดือด"ทุ่งไหหิน"สปป.ลาว นรกบนดินที่ถูกลืม ประวัติความเป็นมาของทุ่งไหหิน

#สมรภูมิเดือด " #ทุ่งไหหิน "นรกบนดินที่ถูกลืม #สปปลาว ทุ่งไหหินในเมืองเชียงขวาง, ลาว เป็นพื้นที่ที่ถูกทิ้งระเบิดหนักที่สุดในโลกและเคยเป็นสมรภูมิรบที่ดุเดือดในสงครามเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2507 ทหารเวียดนามเหนือรุกรานลาว ทำให้ CIA ของสหรัฐต้องเข้ามาแทรกแซง จัดตั้งกองทัพม้งและพูดคุยกับรัฐบาลไทยเพื่อส่งทหารเสือพรานมาช่วยรบในลาว ศึกครั้งใหญ่เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2514 ซึ่งทหารไทยต้องต่อสู้กับทหารเวียดนามเหนือที่มีอาวุธทันสมัยและจำนวนมากกว่ามาก ท้ายที่สุด ทหารเวียดนามเหนือสามารถยึดทุ่งไหหินได้ ทหารไทยหลายคนต้องยอมสละชีวิตในการปกป้องดินแดนนี้ ทุ่งไหหินในจังหวัดเชียงขวาง ลาว เคยเป็นสถานที่สำคัญทางโบราณคดีที่มีไหหินโบราณกระจายอยู่ทั่วไป แต่ในช่วงสงครามเวียดนาม กลับกลายเป็นสมรภูมิที่ทหารไทยและลาวม้งต้องเผชิญหน้ากับทหารเวียดนามเหนือและกองกำลังคอมมิวนิสต์ในศึกที่รุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ทุ่งไหหินกลายเป็น "นรกบนดิน" ที่มีการต่อสู้ดุเดือดเป็นเวลาหลายวัน สุดท้ายฐานทัพไทยถูกยึดไป แต่ทหารไทยบางคนสามารถหลบหนีและได้รับการช่วยเหลือจากเฮลิคอปเตอร์ของพันธมิตร สรุปบทความ: บทความนี้กล่าวถึงทุ่งไหหินในเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการทิ้งระเบิดหนักที่สุดในโลกในช่วงสงครามเวียดนาม ที่นี่เต็มไปด้วยไหหินโบราณที่มีความลึกลับและเคยเป็นสมรภูมิรบที่ทหารไทยและซีไอเอเข้ามามีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับกองทัพเวียดนามเหนือ ซีไอเอได้สนับสนุนชาวม้งและทหารเสือพรานไทยในการป้องกันการรุกรานของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ ทุ่งไหหินกลายเป็นสนามรบเลือดที่นักรบไทยเสียสละชีวิตอย่างกล้าหาญในการต่อสู้ในสภาวะที่ยากลำบาก ความพยายามและการเสียสละของทหารไทยที่ทุ่งไหหินทำให้ทุ่งนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญและความมุ่งมั่นในการปกป้องแผ่นดิน ศึกทุ่งไหหิน…นรกบนดิน “ความพินาศ” ที่ถูกอำพรางมาแสนนาน… ณ ดินแดนตรงนี้ คือ พื้นที่เล็กๆ บนพื้นพิภพ ที่ถูกทิ้งระเบิดหนักที่สุดในโลก… ทุ่งไหหิน เมืองเชียงขวาง พื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนราว 400 ตร.กม. ล้อมไปด้วยเนินเขาสูง ตรงกลางเป็นพื้นราบ พื้นราบอันสวยงาม โรแมนติกไม่น้อย ปรากฏ “ไหหิน” สีเทาขนาดใหญ่นับพันชิ้นที่กระจายอยู่ ส่วนใหญ่จะรวมกันเป็นกลุ่ม 2-3 ไห ความสงบสุข ปนเปกับความลึกลับของไหหิน ยืนยันทฤษฎีว่าสถานที่แห่งนี้น่าจะเคยเป็นสุสาน เป็นที่เผาศพมนุษย์มีอายุมากกว่า 2 พันปี ปี พ.ศ.2473 ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคม เคยทำวิจัยทางโบราณคดีพบลูกปัดแก้วภายในไห มีเศษกระดูกและฟันมนุษย์ที่ถูกไฟไหม้อยู่ภายใน …รอบๆ ไห มีแผ่นหินเป็นเครื่องหมายตำแหน่งของหลุมศพ และแล้ววันหนึ่ง…ทุ่งไหหินกลายเป็นนรกบนดินที่นักรบไทยเคยไปสู้รบอย่างกล้าหาญ ราว พ.ศ.2507 ทหารเวียดนามเหนือขนาดมหึมากรีฑาทัพ รุกเข้าสู่ดินแดนลาวอย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรรหมณ์ ซีไอเอ หน่วยข่าวกรองกลางของสหรัฐได้รับไฟเขียวจากวอชิงตัน ให้เข้ามาทำสงครามยับยั้งคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือในดินแดนลาว… ซีไอเอ จัดตั้งชาวม้งลาวเป็นนักรบมากกว่า 3 หมื่นนาย แล้วยังมาพูดคุยกับรัฐบาลไทยให้ส่งทหารเสือพรานไปช่วยรบในลาวอีกราว 3 หมื่นนาย สงครามจะดุเดือดในช่วงหน้าแล้ง ภูมิประเทศในลาว เป็นเขาสูง ไม่มีถนน อากาศยานของบริษัทเอกชนสหรัฐ คือ แอร์อเมริกา โดยเฉพาะเฮลิคอปเตอร์ คือ พระเจ้า ที่จะนำอาหาร กระสุน ขนส่งทหาร คนเจ็บ คนตาย บินไป-มา ภายในลาวและบินออกมาสนามบินอุดรธานี การทำสงครามในยุคสมัยโน้น มุ่งเน้นการยึดพื้นที่สูงยึดภูมิประเทศสำคัญ (Key Terrain) เพื่อควบคุมสนามรบ เพื่อให้ได้เปรียบการรบ บังคับวิถีการรบ ขอตัดฉากเข้า…กล่าวถึง ทุ่งไหหินในสถานะ “สมรภูมิเลือด” ทุ่งไหหิน ตั้งอยู่บนแนวทางการเคลื่อนที่ของกองทัพเวียดมินห์ ภายใต้การบังคับบัญชาของ โฮจิมินห์ ที่กำลังโหมกระหน่ำ รุกสู่ภาคตะวันตกของลาวประสงค์ให้แผ่นดินลาวเป็นส่วนหนึ่งของระบอบคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2512 วังเปา เคยสั่งทหารม้งนำกำลังยึดทุ่งไหหินมาครอบครอง ด้วยการสนับสนุนแบบเทหน้าตักจากกองทัพอากาศสหรัฐ เมื่อหน่วยข่าวรายงานชัดเจนว่า “มันหวดเราแน่” ทหารเสือพราน…นักรบจากไทย ทหารราบ ทหารปืนใหญ่ ถูกโยกกำลังไปเตรียม “ต้อนรับ” การรุกใหญ่แบบ “อยู่หรือตาย” … #เรื่องเล่าจากบันทึก #เล่าเรื่อง ต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Comments