Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб เจริญอานาปานสติ เห็นเกิดดับเรื่อยๆ ย่อมเบื่อหน่าย การหลุดพ้นจะเกิดขึ้น в хорошем качестве

เจริญอานาปานสติ เห็นเกิดดับเรื่อยๆ ย่อมเบื่อหน่าย การหลุดพ้นจะเกิดขึ้น 2 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



เจริญอานาปานสติ เห็นเกิดดับเรื่อยๆ ย่อมเบื่อหน่าย การหลุดพ้นจะเกิดขึ้น

#อานาปานสติ #ละนันทิ #นิพพิทา #อาทีนวะ 00:05 อธิบายเรื่องของอานาปานสติ 08:18 ปัญญา สุดยอดของปัญญาก็คือ การเห็นการเกิด ดับ นั่นเอง 13:05 โสดาบันจะเข้าใจธรรมอันเป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งธรรมนั้น 14:09 ได้ประโยชน์อะไร จากการเห็นเกิด ดับ -อาทีนวะ โทษ -นิพพิทา ความเบื่อหน่าย 18:17 อธิบายลำดับเหตุแห่งการเกิดขึ้น และการดับไป ของสรรพสิ่งในโลก ปฏิจจสมุปบาท 24:09 การรู้ลมหายใจ เป็นเหตุให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์.. 31:32 เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ทำอะไรต่อ 37:34 ฝึกละความเพลิน 42:01 วิญญาณเวียนว่ายตายเกิดใช่ไหม -------------------------- #การเจริญอานาปานสติ (ตามนัยแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร) ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม, ย่อมนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า มีสติหายใจออก (๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว; หรือว่า (๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น, (๓) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก, (๔) เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า เราทำกายสังขารให้รำงับ จักหายใจเข้า, เราทำกายสังขารให้รำงับ จักหายใจออก, เช่นเดียวกับนายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ชำนาญ เมื่อเขาชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว, เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น. ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง; และเป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นธรรม อันเป็นเหตุเกิดขึ้นในกายอยู่ บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไปในกายอยู่ บ้าง, เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไปในกายอยู่ บ้าง, ก็แหละ สติ ว่า “กายมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึก, ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลกนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้. --📙 พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ ๖ พุทธวจน อานาปานสติ หน้าที่ ๔๕-๔๖ -- ลิ้งค์อ้างอิงพระสูตร https://etipitaka.com/read/thaipb/6/45/ --📙 พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๗๓-๗๔ ข้อที่ ๑๓๓ -------------------------- #เมื่อเจริญอานาปานสติ ก็ชื่อว่า #เจริญกายคตาสติ ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก : เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว; เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”; เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับ หายใจออก”; เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ ย่อมละความระลึกและความดำริอันอาศัยเรือนเสียได้.  เพราะละความระลึกและความดำรินั้นได้ จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว.    ภิกษุทั้งหลาย ! แม้อย่างนี้ ภิกษุนั้นก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ.  --📙 พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ ๖ พุทธวจน อานาปานสติ หน้าที่ ๔๗-๔๘ -- ลิ้งค์อ้างอิงพระสูตร https://etipitaka.com/read/thaipb/6/47/ --📙 พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๖๑-๑๖๒ ข้อที่ ๒๙๔ -------------------------- ร่วมบุญสนับสนุนกับทางวัดนาป่าพงโดยตรง (เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ชม) บัญชี วัดนาป่าพง ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่ 318-246-1756 มูลนิธิพุทธโฆษณ์ ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่ 318-247-4610 ติดตามข่าวสาร กิจวัตรพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และคณะ พุทธวจนเรียล Buddhawajana Real    / @buddhawajanareal     / buddhawajanareal2020   -------------------------- ร่วมบุญสนับสนุนช่อง #ทางนิพพาน #พุทธวจน (เพื่อสนับสนุนช่องนี้) ช่วยแชร์วิดีโอ หรือ "ไม่กดข้ามโฆษณา"(บ้าง) ^^🙏🏻😊 หรือจาคะผ่านระบบสมาชิก ช่องยูทูบ    / tangnibbana   เพจเฟซบุ๊ก   / tangnibbana  

Comments