Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб เชียงคาน เมืองโบราณบนสองฝั่งโขง รุ่งเรืองก่อนล่มสลาย EP.1/3 I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.229 в хорошем качестве

เชียงคาน เมืองโบราณบนสองฝั่งโขง รุ่งเรืองก่อนล่มสลาย EP.1/3 I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.229 3 месяца назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



เชียงคาน เมืองโบราณบนสองฝั่งโขง รุ่งเรืองก่อนล่มสลาย EP.1/3 I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.229

บันทึกทางประวัติศาสตร์อันเกี่ยวข้องกับอาณาจักรล้านช้าง ปรากฏชื่อ "เมืองเชียงคาน" ขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัย “พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว” ราว พ.ศ.1992-1993 เมื่อครั้งอัญเชิญพระบางจากเมืองเวียงคำจะไปยังเมืองหลวงพระบาง แล้วเกิดเรือล่มในแม่น้ำโขงที่แก่งจัน ปัจจุบันอยู่่ในพื้นที่ อ.ปากชม จ.เลย ใต้เมืองเชียงคานลงมา ในอดีตเมืองเชียงคานโบราณมีราษฎรตั้งถิ่นฐานอยู่สองฝากฝั่งในบริเวณที่ลำน้ำสาขาไหลลงสู่แม่น้ำโขง ทั้งบริเวณทางใต้ของลำน้ำฮวย ในฝั่ง อ.เชียงคานของไทย และทางเหนือของลำน้ำมี้ ในฝั่งเมืองซะนะคาม สปป.ลาว โดยยังปรากฏแหล่งโบราณสถาน หรือวัดโบราณต่าง ๆ ให้เห็นอยู่มากมาย เชียงคานยังอยู่ใกล้สายน้ำสำคัญ ได้แก่ น้ำเลย และน้ำเหืองที่ไหลลงสู่โขงเหนือตัวเมืองขึ้นไปไม่ไกล นี่เองที่ทำให้เชียงคานกลายเป็น “ชุมทางการค้าโบราณ” เพราะมีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลางที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นจุดที่พ่อค้าล้านช้างใช้เดินทางผ่าน เพื่อจะไปยังเมืองพิษณุโลก และมุ่งสู่กรุงศรีอยุธยา ตามที่ปรากฏอยู่ในแผนที่โบราณสมัย ร. 3 ค้นพบในพระบรมมหาราชวัง เขียนขึ้นในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 24 นับเป็นหลักฐานชั้นต้นเก่าแก่ของไทยที่ระบุชื่อเมืองเชียงคาน โดยภาพนี้ปรากฏชัดเจนว่าศูนย์กลางอำนาจของเมืองเชียงคานในอดีตตั้งอยู่ในฝั่งเมืองซะนะคาม ของสปป.ลาว อย่างน้อยก็ยาวนานจนถึงสมัย ร. 3 เมืองเชียงคานโบราณถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ของล้านช้างว่า ช่วงรัชสมัยพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว อันยาวนานระหว่างปี พ.ศ.1992 -พ.ศ.2023 แต่เมื่อครองราชย์ได้ 31 ปี พระองค์ต้องเสด็จจากหลวงพระบางมาประทับที่เมืองเชียงคานปีใน พ.ศ.2022 เพื่อหนีภัยสงครามจากการโจมตีของกองทัพญวน เมื่อเสด็จประทับที่เชียงคานแล้ว พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วทรงสละราชสมบัติให้แก่ท้าวแท่นคำ หรือพระสุวรรณบัลลังก์ พระราชโอรส ที่ปกครองเมืองซายขาว ปัจจุบันคือบ้านทรายขาวในเขต อ.วังสะพุง จ.เลย ท้าวแท่นคำได้นำกำลังจากจากเมืองซายขาวแห่งนี้ รวมทั้งเมืองเชียงคานเข้าต่อสู้กับกองทัพญวน จนสามารถฆ่าแม่ทัพและขับไล่ทหารญวนออกไปจากแดนลาวได้สำเร็จ และแม้พระองค์จะทรงสละราชสมบัติเมืองหลวงพระบางให้กับพระราชโอรส แต่ก็ทรงประทับอยู่ที่เมืองเชียงคานจนเสด็จสวรรคต ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22 เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ทรงย้ายราชธานีจากเมืองหลวงพระบางลงมายังเวียงจันทน์ในปี พ.ศ.2103 ยิ่งทำให้เมืองเชียงคานอยู่ใกล้กับศูนย์กลางของอาณาจักรล้านช้างแห่งใหม่มากขึ้น การเจริญติบโตทางการค้าภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคู่ไปกับความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของอาณาจักรล้านช้างในช่วงยุคทอง ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 เป็นช่วงที่เชียงคานขยายชุมชนใหญ่โตกระจายออกไปยังที่ราบลุ่มสองฝั่งแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาทั้งในเขตเมืองซะนะคาม สปป.ลาว และเขตอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ซึ่งถือเป็นช่วงยุคทองของอาณาจักรล้านช้าง พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชทรงปกครองบ้านเมืองมีความสงบสุข และรุ่งเรืองทางการค้าสร้างอาณาจักรล้านช้างมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง แต่เมื่อสิ้นรัชกาลของพระองค์แล้ว ราชสำนักเวียงจันทน์ก็เกิดความวุ่นวายแย่งชิงราชสมบัติกันอีกครั้ง พระไชยองค์เว้ชิงอำนาจ เสด็จขึ้นครองราชย์ที่เวียงจัน ขณะที่เจ้ากิ่งกิจขึ้นครองราชสมบัติที่เมืองหลวงพระบาง หลังจากที่เจ้ากิ่งกิจสถาปนาพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่หลวงพระบาง พระองค์ได้ยกกองทัพลงมาตีเวียงจัน ขณะที่เวียงจันได้ขอความช่วยเหลือไปยังสมเด็จพระเพทราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยานครราชสีมายกทัพใหญ่ไปยังเมืองเวียงจันทน์ เพื่อหย่าศึกคราวนั้น หลวงพระบางยอมเลิกทัพกลับไป และนำไปสู่การแบ่งเขตแดนการปกครองระหว่างราชสำนักเวียงจันทน์กับราชสำนักหลวงพระบางบริเวณปากน้ำเหือง โดยคราวนั้นเมืองเชียงคานได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชสำนักเวียงจันทน์ เมืองเชียงคานอยู่ในปกครองราชสำนักเวียงจันทน์เรื่อยมา จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2321 ราชสำนักเวียงจันทน์ก็ต้องตกเป็นประเทศราชของกรุงธนบุรี และต่อเนื่องสู่กรุงรัตนโกสินทร์ เชียงคานจึงถือเป็นเมืองในขอบขัณฑสีมาของสยามตามระบบรัฐแบบจารีต กระทั่งล่วงเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ร. 3 เชียงคานได้ก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อเกิดศึกเจ้าอนุวงศ์ ระหว่างนี้เองที่กองทัพลาวพุงดำเมืองน่าน ซึ่งยกลงมาช่วยกองทัพกรุงเทพ ฯ เข้าตีเมืองเวียงจันทน์ได้เดินทางมาถึงเมืองเชียงคาน จึงฉวยโอกาสเข้าตีเมืองเชียงคาน บ้านเรือนยุ้งฉาง วัดวาอารามถูกเผาทำลาย ราษฎรต้องหลบลี้หนีภัยแตกกระสานซ่านเซ็นเข้าป่า บางส่วนถูกกวาดต้อนลงไปยังลุ่มน้ำเจ้าพระยา จนทำให้เมืองเชียงคานต้องกลายเป็นเมืองร้างในที่สุด แม้กระนั้นเรื่องราวของเชียงคานยังไม่จบลง เมื่อเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) ได้ทำการรวบรวมผู้คนที่แตกกระสานซ่านเซ็น ให้กลับขึ้นเป็นเมืองอีกครั้งในชื่อ “ปากเหือง” ถือเป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้งของเชียงคาน ที่จะเปลี่ยนสถานะเข้าสู่เมืองภายใต้การปกครองของราชสำนักกรุงเทพ ฯ อย่างแท้จริง ทั้งหมดนั้นคือเรื่องราวในประวัติศาสตร์นอกตำรากับสารคดีชุด "เปิดประวัติศาสตร์เมืองเชียงคาน" EP.1 ตอน "กำเนิดเชียงคาน"

Comments