Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб "ตถตา ความเป็นเช่นนั้นเอง" อิทัปปัจจยตา , วิธีลดกิเลสตัวเอง , หน่วยงานร่วมใจ , ชุมชนน่าอยู่ โดย ธรรม в хорошем качестве

"ตถตา ความเป็นเช่นนั้นเอง" อิทัปปัจจยตา , วิธีลดกิเลสตัวเอง , หน่วยงานร่วมใจ , ชุมชนน่าอยู่ โดย ธรรม 2 года назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



"ตถตา ความเป็นเช่นนั้นเอง" อิทัปปัจจยตา , วิธีลดกิเลสตัวเอง , หน่วยงานร่วมใจ , ชุมชนน่าอยู่ โดย ธรรม

#ตถตา #หน่วยงาน #กิเลส 00:00 "ตถตา" เพราะอะไร มันเป็นเช่นนั้นเอง ? ปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัยกันเกิด 02:52 ทำอย่างไร ถึงจะลด ละ กิเลส ให้เหลือน้อยลง ? อานาปานสติครอบจักรวาล 05:43 ภรรยาเชื่อหมอดู เชื่อการพยากรณ์ ส่วนสามีเชื่อคำพระตถาคต จะทำอย่างไร ? 08:52 ผู้คน ข้าราชการ ตำรวจ มีความชิงดีชิงเด่นกัน ทะเลาะกัน เป็นเพราะอะไร ? 11:22 หลักของสัตบุรุษคนดี คนดีเป็นอย่างไร ? ให้สังเกตการพูดของเขา 12:41 มนุษย์จะมีอารมณ์ 4 อย่าง 13:46 มีสาวกของพระพุทธเจ้ากลุ่มหนึ่ง ไม่ทะเลาะกันเลย โดยใช้วิธีนี้ 15:04 จะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นพระอรหันต์ และพระอรหันต์ต้องกลับมาเกิดอีกไหม ? 16:58 ศีลของพระ จริงๆ มีกี่...พันข้อ ? 19:19 ญาณ สมาธิ ระดับต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ 20:31 พุทธวจน กับ ความเป็นจริงในปัจจุบัน มันต่างกันมาก จะทำอย่างไร ? 24:37 พระพุทธเจ้าสวดอะไร บทสวดอะไร ? 26:40 เกียรติศักดิ์ ลาภยศ สรรเสริญ สร้างเหตุปัจจัยเหล่านี้ 3 อย่าง 29:01 ความผิดของพระ และวิธีลงโทษ วิธีแก้ไข้ 32:58 พอจ.กล่าวนำก่อนทำสมาธิ แผ่เมตตา และฝากธรรมในการครองเรือน -------------------------------- -- พระสูตร จากคำถาม "มันเป็นเช่นนั้นเอง" เพราะอะไร? (๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือความที่ เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา). ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้ พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และ ได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ท่านทั้งหลายจงมาดู : เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี” ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจาก ความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอัน เป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น) (๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม,...ฯลฯ… …ฯลฯ … -- ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๓๔-๓๕ -- พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ปัจจัยสูตร หน้าที่ ๒๒-๒๓ ข้อที่ ๕๙ - ๖๓ -------------------------------- พระสูตร จากคำถาม "ลดกิเลสให้น้อยลง" โดยการละนันทิ ความเพลิน นันทิขยสูตรที่ ๑ [๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่ายเพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลินเพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ ภิกษุเห็นใจอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ จบสูตรที่ ๑ นันทิขยสูตรที่ ๒ [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยงความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่ายเพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุเห็นเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันไม่เที่ยงนั่นแลว่าไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ จบสูตรที่ ๒ -- พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค หน้าที่ ๑๔๖ ข้อที่ ๒๔๕ - ๒๔๖ -------------------------------- พระสูตรที่เกี่ยวข้อง เหตุให้เกิดความขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้ง "อิจฉาริษยา และตระหนี่" ละได้ในใจจะเกิดความสามัคคีในหน่วยงาน ในชุมชนน่าอยู่ แลดูกันด้วยสายตาอันเป็นที่รัก -- อ่านพระสูตร 1 https://etipitaka.com/read/thai/10/205/ -- อ่านพระสูตร 2 https://etipitaka.com/read/thai/25/373/ -- อ่านพระสูตร 3 https://etipitaka.com/read/thai/13/76/ คำสอนพระพุทธเจ้า บอกทางแก่คนหลงทาง พุทธวจน ทางนิพพาน ຕາມຮອຍທັມພຣະສາດສະດາ เพจเฟซบุ๊ก   / tangnibbana   ช่องยูทูบ    / tangnibbana   ร่วมบุญสนับสนุน ช่วยแชร์วิดีโอหรือ "ไม่กดข้ามโฆษณา"(บ้าง) ^^🙏🏻😊 หรือจาคะผ่านระบบสมาชิก หมายเหตุ อัพเดทข้อมูลต่างๆ อีกทีนะ ท่านพูดไว้นานแล้ว -- ปัจจุบันศีลพระ น่าจะรวบรวมได้ 3000 กว่าข้อแล้ว

Comments