Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб อานาปานสติ ฉบับครบ 16 ขั้น อนิสงส์เป็นอริยบุคคลในชาตินี้ เสียงธรรม โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ в хорошем качестве

อานาปานสติ ฉบับครบ 16 ขั้น อนิสงส์เป็นอริยบุคคลในชาตินี้ เสียงธรรม โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ 3 месяца назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



อานาปานสติ ฉบับครบ 16 ขั้น อนิสงส์เป็นอริยบุคคลในชาตินี้ เสียงธรรม โดยหลวงพ่อสมภพ โชติปัญโญ

แบ่งปันเสียงธรรม หลวงพ่อสมภพ เรื่องอานาปานสติ 16 ขั้น ฉบับเต็มสมบูรณ์ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การกำหนดรู้ในอานาปานสติ ตั้งแต่ข้อ 1-4 เป็นการกำหนดรู้ภายในกาย จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 1.หายใจออก-เข้ายาวรู้ 2.หายใจออก-เข้าสั้นรู้ 3.หายใจออก-เข้า กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง 4.หายใจออก-เข้า เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป) เมื่อเจริญอานาปานสติ จนสัมปชัญญะทั้งสี่บริบูรณ์ก็จะเกิดสติสัมโพชฌงค์ขึ้นมา เมื่อศีลวิสุทธิเกิดขึ้นเพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกันก็จะเกิดธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ขึ้นมา เมื่อจิตตวิสุทธิเกิดขึ้นเพราะวิริยะพละสมดุลกับสมาธิพละก็จะเกิดวิริยะสัมโพชฌงค์ขึ้น... อานาปานสติ 16 ฐาน (สติกำหนดลมหายใจ, การเจริญอานาปานสติ คือใช้สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก แบบที่เป็นการเจริญสติปัฏฐานไปด้วยครบทั้ง 4 จตุกกะที่ 1 : กายานุปัสสนา 1.เมื่อหายใจเข้ายาว เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว 2.เมื่อหายใจเข้าสั้น เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น 3.เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วกาย(กองลม)ทั้งหมด หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วกาย(กองลม)ทั้งหมด หายใจออก 4.เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจออก จตุกกะที่ 2 : เวทนานุปัสสนา 5.เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ปีติ หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ปีติ หายใจออก 6.เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ความสุข หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ความสุข หายใจออก 7.เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้จิตตสังขาร หายใจออก 8.เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับจิตตสังขาร หายใจออก จตุกกะที่ 3 : จิตตานุปัสสนา 9.เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจออก 10. เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก 11. เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก 12.เธอสำเหนียกว่า เราจักปล่อยเปลื้องจิต หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักปล่อยเปลื้องจิต หายใจออก จตุกกะที่ 4 : ธัมมานุปัสสนา 13.เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก 14.เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก 15.เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับกิเลส หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับกิเลส หายใจออก 16. เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนได้ หายใจเข้า เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนได้ หายใจออก คำว่า หายใจเข้า และหายใจออก นั้นพึงทราบว่า เป็นคำที่มีการแปลต่างกัน คือ อรรถกถาแห่งพระวินัยแปล อสฺสาส ว่า “หายใจออก” และ ปสฺสาส ว่า “หายใจเข้า” ส่วนอรรถกถาแห่งพระสูตรแปลกลับตรงข้าม คือแปล อสฺสาส ว่า “หายใจเข้า” และ ปสฺสาส ว่า “หายใจออก” ในที่นี้ถือตามคำแปลของอรรถกถาแห่งพระสูตร ผู้ศึกษาทราบอย่างนี้แล้ว จะใช้แบบใดก็ได้ พึงเลือกตามปรารถนา 16 ฐาน หรือ 16 หลัก หรือ 16 หัวข้อ หรือ 16 ข้อ ข้อ หรือ 16 ชั้นนั้น ท่านจัดเป็น 4 จตุกกะ คือ เป็นหมวดสี่ 4 หมวด ดังนี้ 1. กายานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งกายานุปัสสนา) 2. เวทนานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งเวทนานุปัสสนา) 3. จิตตานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งจิตตานุปัสสนา) 4. ธัมมานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งธัมมานุปัสสนา) เป็นการระบุชัดว่า ส่วนไหนเป็นสติปัฏฐานข้อใด ว่าโดยไตรสิกขา ระหว่างปฏิบัตินั้น - ความมีกายวาจาตั้งอยู่ในความสงบสำรวม โดยมีเจตนาอันปลอดจากการละเมิดหรือเบียดเบียน (กายิกวาจสิกอวีตีกกมะ) เป็น ศีล - การมีสติกำหนด ด้วยจิตที่ตั้งมั่นมีอารมณ์อารมณ์หนึ่งเดียวตามที่กำหนด (จิตตัสเสกัคตา) เป็น สมาธิ - ความมีสัมปชัญญะรู้ทั่วพร้อม มองเห็นตามสภาวะ เป็น ปัญญา ในการปฏิบัติ ศีลเป็นเพียงฐานที่รองรับอยู่ ส่วนธรรมที่ปฏิบัติซึ่งจะเจริญขึ้นไป คือ สมาธิ และปัญญา อันได้แก่ สมถะ ในข้อต่อไป ในการปฏิบัติทั้งหมดนี้ สามจตุกกะแรก มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา แต่จตุกกะที่ ๔ เป็น วิปัสสนา ล้วน โสฬสวัตถุกอานาปานสติ นี้ พระพุทธเจ้าตรัสแสดงบ่อย พบได้หลายแห่งในพระไตรปิฎก แต่ที่ประมวลเรื่องเกี่ยวข้องและข้อความแวดล้อมไว้ครบถ้วน ซึ่งรู้จักกันดีและเป็นที่อ้างอิงกันทั่วไป คือ อานาปานสติสูตร (ม.อุ. 14/282-291/190-202=M.III.78-82) ที่มาคำแปลข้อความ เว็ปไซตื 84000 พระธรรมขันธ์ /วิกิพีเดีย

Comments