Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб สมเด็จพระนเรศวรฯ กับคนไทใหญ่ ทำไมคนไทใหญ่เคารพและเทิดทูนที่สุด в хорошем качестве

สมเด็จพระนเรศวรฯ กับคนไทใหญ่ ทำไมคนไทใหญ่เคารพและเทิดทูนที่สุด 3 месяца назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



สมเด็จพระนเรศวรฯ กับคนไทใหญ่ ทำไมคนไทใหญ่เคารพและเทิดทูนที่สุด

#สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในประวัติศาสตร์ไทใหญ่ Tai #History of ThailandThai #ပိုၼ်းၶိူဝ်းတႆး สำหรับคนไทยสยามยุคปัจจุบัน เมื่อได้เห็นภาพการบวงสรวงบูชาไหว้ศาลสมเด็จพระนเรศวรฯ ที่ฐานเนินกองคาของทหารไทใหญ่ และได้เห็นหนุ่มน้อยทหารไทใหญ่ต่างมีเหรียญทองแดงรมดำรูปสมเด็จพระนเรศวรฯ แขวนเชือกป่านห้อยคอเป็น “ของขลัง” ประจำตัวนั้น ถือเป็นเรื่องน่าประหลาดใจยิ่ง ว่าเหตุใดชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะทหารไทใหญ่ จึงได้เคารพนับถือสมเด็จพระนเรศวรฯ บุรพกษัตริย์นักรบอย่างหนักแน่นมั่นคงเช่นนี้ ทั้งที่สมเด็จพระนเรศวรฯ เป็นกษัตริย์ไทยและเสด็จสวรรคตล่วงผ่านไปแล้วถึง 400 ปี! พันเอกเจ้ายอดศึกผู้นำกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ยุคปัจจุบัน ตอบคำถามสั้นๆ ถึงที่มาทางประวัติศาสตร์อันทำให้ทหารไทใหญ่นับถือสมเด็จพระนเรศวรฯ อย่างที่สุดว่า “พระนเรศวรฯ กับเจ้าคำก่ายน้อยเจ้าฟ้าของไทใหญ่ ท่านเป็นเพื่อนกัน มีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน คือต้องการรบพม่า ต้องการขับไล่พม่าออกจากแผ่นดินไทยและแผ่นดินไทใหญ่ คนไทใหญ่ถือว่าถ้าพระนเรศวรฯ ยังอยู่ ไทใหญ่จะไม่ลำบากอย่างนี้ เพราะท่านมีนโยบายปราบพม่าให้หมดสิ้น #คนไทใหญ่ ทุกคนรู้เรื่องนี้ ผมศึกษาประวัติศาสตร์ ได้รู้ และเชื่อถือมาก ทหารไทใหญ่ทุกคนเชื่อเพราะรู้ประวัติศาสตร์ ผมอธิบายให้ฟังทุกคน” “เจ้าคำก่ายน้อย” ที่พันเอกเจ้ายอดศึกกล่าวถึง คือเจ้าฟ้าวีรบุรุษคนหนึ่งของชาวไทใหญ่ ผู้เป็นสหายร่วมรบมากับสมเด็จพระนเรศวรฯ มีปรากฏในประวัติศาสตร์ที่คนไทใหญ่รับรู้มายาวนาน ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับชนกลุ่มน้อย ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะกับมอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่นั้น มีความแนบแน่นลึกซึ้ง มอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่ คือ “ชาวด่าน” ที่คอยป้องกันขอบขัณฑสีมาจากการรุกรานของพม่า หลักฐานทางไทใหญ่กล่าวย้ำถึงสัมพันธภาพแน่นแฟ้นนี้ว่า จนแม้ไทใหญ่ที่ถูกกุมตัวเป็นเชลยอยู่กลางเมืองพม่าเอง ก็พร้อมจะแข็งขืนไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจพม่า แต่มาฝักฝ่ายอยู่กับฝ่ายไทยซึ่งเป็นเชื้อชาติเดียวกัน ดังที่ “เคอแสน” นักประวัติศาสตร์ชาวไทใหญ่บันทึกไว้ในบทความ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและเจ้าคำก่ายน้อยแห่งไทใหญ่” ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนสิงหาคม 2545 ว่า ครั้งที่กษัตริย์บุเรงนองยกทัพเข้ามาตีเมืองไทย ลาว เชียงใหม่ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2108 นั้น “เจ้าฟ้าไทใหญ่และทหารไทใหญ่ที่ถูกจับเป็นเชลยอยู่ในเมืองหงสาวดีนั้นถือโอกาสจุดไฟเผาหอ, วังในเมืองหงสาวดีเสียหาย จนกระทั่งพวกอำมาตย์ของพม่าต้องหนีไปอยู่ที่ “เมืองทละ” การเผาหอ, วัง ในครั้งนี้เจ้าฟ้าไตย (ไทใหญ่) ให้เหตุผลว่า เพราะพม่าทำการรุกรานนำทัพเข้าตีเมืองพี่เมืองน้องของไตย หลังจากบุเรงนองทราบข่าวจึงรีบยกทัพกลับเมืองหงสาวดีทันที และจับเจ้าฟ้าไตยและคนไตยหมื่นกว่าคนทำการเผาทั้งเป็นที่เมืองหงสาวดี“ และ “เคอแสน” ยังกล่าวไว้อีกด้วยว่า สมเด็จพระนเรศวรฯ คือบุรพกษัตริย์ที่รวบรวมก่อตั้งอาณาจักรไทใหญ่ โดยที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงปรึกษากับเจ้าคำก่ายน้อย เจ้าฟ้าไทใหญ่ เพื่อจะสร้างกองทัพราชอาณาจักรไทย-ไทใหญ่ ให้เข้มแข็งถาวรต่อไปในวันข้างหน้า โดยทางไทใหญ่นั้นเจ้าคำก่ายน้อยรับอาสาที่จะเจรจากับเจ้าฟ้าไทใหญ่ทุกเมือง ในปี พ.ศ. 2143 สมเด็จพระนเรศวรฯ มีรับสั่งให้เจ้าคำก่ายน้อยนำกำลังทหารส่วนหนึ่งเข้าไปเมืองปั่น เมืองนาย ยองห้วย ไปจนถึงภาคกลาง และเจ้าฟ้าไทใหญ่ทุกเมืองพร้อมกันจัดตั้งเป็นพระราชอาณาจักรขึ้น โดยมีสมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงเป็นผู้นำ ส่วนช่วงที่สมเด็จพระนเรศวรฯ เสด็จขึ้นไปสวรรคตที่เมืองหางหลวง ในแผ่นดินรัฐฉาน ประวัติศาสตร์ไทใหญ่ระบุว่า ในครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรฯ ได้ทรงยกทัพขึ้นไปช่วยเจ้าคำก่ายน้อย ที่กำลังทำศึกกับทหารจีนและทหารพม่าซึ่งรุกรานเมืองไทใหญ่ แต่สมเด็จพระนเรศวรฯ สวรรคตเสียก่อน เจ้าคำก่ายน้อยจึงสู้รบต่อไปเพียงลำพัง และสิ้นพระชนม์กลางสนามรบที่เมืองแสนหวี ในปี พ.ศ. 2148 หลังการสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรฯ ไม่นานนัก สมเด็จพระนเรศวรฯ กับไทใหญ่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างชนกลุ่มน้อยกับทางฝ่ายไทย จนไทใหญ่ต้องสังเวยชีวิตไปหมื่นกว่าศพนี้ ยังมีเรื่องราวต่อเนื่องมาอีก ในช่วงที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงทำสงครามประกาศอิสรภาพจากการยึดครองของพม่า ครั้งนั้นทหารไทใหญ่ได้เป็นกำลังพลสำคัญ เป็นเพื่อนตายร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่มากับทหารไทย ต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติไทย กอบกู้เรียกคืนแผ่นดินจากการยึดครองของพม่า ดังมีหลักฐานทางฝ่ายไทย ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม กล่าวถึงในสมัยที่ไทยยังเป็นเมืองขึ้นของพม่า กษัตริย์พม่าเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรฯ นั้น “ประกอบไปด้วยปัญญาหลักแหลมลึกซึ้ง ทั้งการสงครามก็องอาจกล้าหาญ นานไปเห็นจะเป็นเสี้ยนศัตรูต่อเมืองหงสาวดีเป็นมั่นคง” พระเจ้าหงสาวดีจึงอ้างว่ากรุงอังวะเป็นกบฏขอให้สมเด็จพระนเรศวรฯ ยกทัพไปช่วยพม่าปราบกบฏ แต่ขณะเดียวกันก็ลอบส่งแม่ทัพพม่าคือ “นันทสุ” กับ “ราชสังคราม” เข้ามากวาดต้อนผู้คนจากเมืองกำแพงเพชรไปเป็นกำลังทัพ เพื่อตัดกำลังสมเด็จพระนเรศวรฯ ทั้งยังวางแผนลอบสังหารสมเด็จพระนเรศวรฯ อย่างแยบยล ประวัติศาสตร์ช่วงนี้เองที่ระบุไว้ชัดเจนว่า คนไทใหญ่ที่ถูกนันทสุกับราชสังครามกวาดต้อนครัวไปเป็นกำลังฝ่ายพม่านั้น ไม่ยอมสยบและสู้รบแข็งขืนเต็มสามารถ ดังที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม หน้า 151-152 ว่า “ขณะนั้นพระยากำแพงเพชรส่งข่าวไปถวายว่า ไทใหญ่เวียงเสือ เสือต้าน เกียกกาย ขุนปลัด มังทราง มังนิ่ววายลองกับนายม้าทั้งปวงอันอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร พาครัวอพยพหนี พม่ามอญตามไปทัน ได้รบพุ่งกันตำบลหนองปลิงเป็นสามารถ พม่ามอญแตกแก่ไทใหญ่ทั้งปวงๆ ยกไปทางเมืองพระพิษณุโลก สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าทราบดังนั้น ก็ให้ม้าเร็วไปบอกแก่หลวงโกษา และลูกขุนอันอยู่รักษาเมืองพระพิษณุโลกว่าซึ่งไทใหญ่หนีมานั้นเกลือกจะไปเมืองอื่นให้แต่งออก (อายัด) ด่าน #เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Comments