Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб ทำไมบ้านโบราณแบบญี่ปุ่น-จีน-เกาหลี ถึงมีหลังคาบนกำแพง? в хорошем качестве

ทำไมบ้านโบราณแบบญี่ปุ่น-จีน-เกาหลี ถึงมีหลังคาบนกำแพง? 1 месяц назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



ทำไมบ้านโบราณแบบญี่ปุ่น-จีน-เกาหลี ถึงมีหลังคาบนกำแพง?

ทำไมกำแพงบ้านแบบญี่ปุ่น จีน และ เกาหลี ถึงมีหลังคาอยู่บนกำแพง? จีนเกาหลีเกาหลีญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแนวเขตเดียวกัน ที่มีแนวทางงานสถาปัตยกรรมที่รับอิทธิพลจากกันและกันมาเยอะ พื้นที่โซนนี้จะมีสภาพอากาศที่ค่อนข้างรุนแรงฤดูหนาวก็หนาวจัดมีหิมะ ฤดูฝนก็มีมรสุมมีพายุเข้าฝนตกหนักน้ำเยอะลมแรง กำแพงที่สร้างในยุคแรกมักจะเป็นกำแพงดินอัดซึ่งไม่ค่อยจะถูกกับน้ำและความชื้นเจอน้ำแล้วเสียหายได้ง่ายซ่อมแซมได้ลำบาก พอหน้าหนาวหิมะที่กองอยู่บนสันของกำแพงก็จะละลายปล่อยความชื้นลงมาตามแนวกำแพงทำให้กำแพงเสียหายส่วนหน้าฝนพายุเข้าก็โดนความรุนแรงของฝนกัดเซาะกำแพงอีก มันก็เลยเกิดนวัตกรรมการทำหลังคาง่ายๆคลุมสันกำแพง เพื่อมาปกป้องกำแพง ไม่ให้โดนน้ำฝนกัดเซาะโดยตรง พอมีหลังคาก็หมดปัญหาเรื่องหิมะกองบนสันกำแพงไปด้วย แถมหน้าร้อนแดดแรง หลังคาก็ช่วยให้ร่มเงากันแดด ยืดอายุกำแพงได้อีก หลังคายุคแรกก็ทำจากวัสดุง่ายๆพวกหญ้าฟางหรือแผ่นไม้ซึ่งมันซ่อมแซมง่ายเปลี่ยนง่ายหาง่าย การซ่อมหรือเปลี่ยนหลังคาบนสันกำแพงมันง่ายและประหยัดทรัพยากร กว่าการไปซ่อมตัวกำแพงเยอะ อีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องความปลอดภัย เพราะหลังคาบนกำแพงมันจะทำให้คนปีนได้ยากขึ้น พอกำแพงมีหลังคา ก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนทำกำแพงสูงๆ กำแพงที่มีหลังคาของพวกบ้านโบราณมันจะมีความสูงไม่ถึง 2 เมตรด้วยซ้ำ นอกจากนี้หลังคาบนกำแพงมันมี สโลป และลื่น ทำให้วิ่งหรือเดินบนแนวกำแพงได้ลำบาก วัสดุที่ใช้ทำหลังคามันยัง ทำให้เกิดเสียงเวลาขึ้นไปเหยียบ ด้วยประโยชน์แบบนี้ หลังคาบนกำแพงก็เลยเป็นที่นิยมทำกัน จนต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนวัสดุของกำแพงจากดินอัดเป็นหินเป็นไม้เป็นอิฐแล้ว ตัวหลังคาก็ค่อยพัฒนาให้กลายเป็นกระเบื้องทนทานสวยงามสมฐานะกับวัสดุของกำแพงที่เปลี่ยนไป ซึ่งมันยิ่งทำให้ช่วยยืดอายุของกำแพงไปได้อีกยาวนาน กำแพงบ้านโบราณหรือปราสาทโบราณหลายที่ยังสภาพสมบูรณ์มาก ทั้งที่มีอายุหลายร้อยปี ในยุคสมัยต่อๆมาความจำเป็น ด้านฟังก์ชันการใช้งานค่อยๆถูกลดทอนลงไปแต่ไปเน้น ในเรื่องความสวยงามและเข้ากันได้กับอาคารที่อยู่ภายในกำแพง แต่ รูปแบบของหลังคาบนกำแพง ก็ยังคงอยู่กลายเป็นซิกเนเจอร์ของงานสถาปัตยกรรมแนวโบราณนี้ไปแล้ว

Comments