Русские видео

Сейчас в тренде

Иностранные видео


Скачать с ютуб พุทธศาสนาลังกาวงศ์ สู่สยามวงศ์ พระพุทธศาสนาในไทยครั้งแรกเมื่อไร..? в хорошем качестве

พุทธศาสนาลังกาวงศ์ สู่สยามวงศ์ พระพุทธศาสนาในไทยครั้งแรกเมื่อไร..? 3 месяца назад


Если кнопки скачивания не загрузились НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru



พุทธศาสนาลังกาวงศ์ สู่สยามวงศ์ พระพุทธศาสนาในไทยครั้งแรกเมื่อไร..?

#พุทธศาสนาลังกาวงศ์ สู่ #สยามวงศ์ #พระพุทธศาสนา ในไทยครั้งแรกเมื่อไร..? พระพุทธศาสนาในไทย ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค คือ 1. ยุคเถรวาทแบบสมัยอโศก 2. ยุคมหายาน 3. ยุคเถรวาทแบบพุกาม 4. ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ยุคที่ 1 เถรวาทแบบสมัยอโศก พ.ศ. 218 #พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 ณ พระนครปาฏลีบุตร หลังจากเสร็จสิ้นการสังคายนาแล้ว ได้ทรงส่งพระสงฆ์ไปประกาศพระศาสนาในดินแดนต่างๆ รวม 9 สาขา บรรดา 9 สายนั้น พระโสณะ และ พระอุตตระ เป็นสายหนึ่ง (คัมภีร์สมันตปาสาทิกา อรรถกถาแห่งพระวินัยปิฎกนับเป็นสายที่ 8 แต่คัมภีร์ศาสนวงศ์นับย้อนเป็นสายที่ 2) นําพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานใน อาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งสันนิษฐานกันว่าได้แก่ จังหวัดนครปฐม โดยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ เป็นต้น เป็นประจักษ์พยานอยู่จนบัดนี้ (พม่าว่าสุวรรณภูมิได้แก่ เมืองสะเทิม ในพม่าภาคใต้) ยุคที่ 2 มหายาน พ.ศ. 620 พระเจ้ากนิษกะมหาราช ทรงอุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่ 4 ของฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร และทรงส่งสมณทูตออกประกาศพระศาสนาในอาเซียกลางเป็นต้น คราวนั้นพระเจ้ามิ่งตี่ ทรงนําพระพุทธศาสนาจากอาเซียกลางเข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีน และได้ทรงส่งทูตสันถวไมตรีมายัง ขุนหลวงเม้า กษัตริย์ไทยผู้ครองอาณาจักรอ้ายลาว คณะทูตได้นําพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วย ทําให้หัวเมืองไทยทั้ง 77 มีราษฎร 51,890 ครอบครัว หันมานับถือพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก พ.ศ. 1300 กษัตริย์แห่งศรีวิชัย ในเกาะสุมาตราเรืองอํานาจ แผ่อาณาเขตเข้ามาถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี กษัตริย์ศรีวิชัยทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน จึงทําให้พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเผยแพร่เข้ามาในภาคใต้ของประเทศไทย ที่อยู่ในอาณาจักรของพระองค์ ดังมีเจดีย์พระธาตุไชยาและพระมหาธาตุนครศรีธรรมราชเป็นประจักษ์พยานถึงบัดนี้ พ.ศ. 1550 กษัตริย์กัมพูชา ราชวงศ์สุริยวรมัน เรืองอํานาจ แผ่อาณาเขตลงมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย และตั้งเมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นเมืองหลวงเมืองหนึ่งสําหรับปกครองดินแดนแถบนี้ (จึงเรียกสมัยนี้ว่าสมัย ลพบุรี) กษัตริย์กัมพูชาทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งได้เผยแพร่ต่อขึ้นมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่มหายานสมัยนี้ปนเปผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนถิ่นนี้จึงได้รับพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิมกับมหายานและศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ ทําให้มีผู้นับถือทั้งสองแบบ และมีพระสงฆ์ทั้ง 2 นิกาย ภาษาสันสกฤตก็เข้ามาเผยแพร่ มีอิทธิพลในภาษาและวรรณคดีไทยมากแต่บัดนั้น ยุคที่ 3 เถรวาทแบบพุกาม พ.ศ. 1600 พระเจ้าอนุรุทธมหาราช หรืออโนรธามังช่อ กษัตริย์พุกามเรืองอํานาจขึ้น ทรงปราบรามัญรวมพม่าเข้าได้ทั้งหมด แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง จรดลพบุรี และทวาราวดี พระเจ้าอนุรุทธทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทรงทํานุบํารุงและเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้า ย้อนกล่าวถึงชนชาติไทยในจีน ถูกจีนรุกราน อพยพลงมาทางใต้ตามลําดับ หลังจากอาณาจักรอ้ายลาวสลายตัว ก็ได้มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้า ครั้นถึงประมาณ พ.ศ. 1299 ขุนท้าวกวาโอรสขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้า ได้มาตั้งอาณาจักรโยนก เชียงแสนในสุวรรณภูมิ กาลเวลาผ่านไปคนไทยก็กระจัดกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน เมื่ออาณาจักรกัมพูชาเรืองอํานาจ คนไทยที่อยู่ในเขตล้านนาคือภาคพายัพได้รับอิทธิพลขอมน้อย แต่เมื่ออาณาจักรพุกามแผ่เข้ามาครอบงํา คนไทยในถิ่นนี้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาสืบๆ มาอยู่แล้ว ก็รับนับถือพระพุทธศาสนาแบบพุกามจนเจริญแพร่หลายขึ้นทั่วไปในฝ่ายเหนือ ยุคที่ 4 เถรวาทแบบลังกาวงศ์ พระพุทธศาสนาในยุคนี้ คือ แบบที่นับถือมาเป็นศาสนาประจําชาติของไทยจนถึงปัจจุบัน สําหรับยุคนี้ มีรายละเอียดที่ปรากฏในประวัติศาสตร์มากกว่ายุคก่อนๆ จึงแยกย่อยเป็นสมัยๆ ดังนี้ 1. สมัยสุโขทัย พ.ศ. 1800 ระยะนี้ อาณาจักรพุกามและกัมพูชาเสื่อมอํานาจลงแล้ว คนไทยตั้งตัวเป็นอิสระขึ้นได้ ทางเหนือเกิดอาณาจักรล้านนา ใต้ลงมาเกิดอาณาจักรสุโขทัย ย้อนกล่าวทางฝ่ายพระศาสนาในประเทศลังกา พ.ศ. 1696 พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ขึ้นครองราชย์ ทรงปราบทมิฬ ทําบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น ทรงอุปถัมภ์พระศาสนารวมพระสงฆ์เข้าเป็นนิกายเดียว และโปรดให้มีการสังคายนาครั้งที่ 7 ขึ้น พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีปทั้งการศึกษาและปฏิบัติ พระสงฆ์ประเทศต่างๆ เดินทางไปศึกษาธรรมวินัยและบวชแปลงใหม่ แล้วกลับไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ในประเทศของตน บ้างก็นิมนต์พระลังกามาด้วย สําหรับประเทศไทยพระสงฆ์ไทยและลังกาเช่นนี้ได้มาตั้งสํานักเผยแพร่อยู่ ณ เมือง นครศรีธรรมราช ได้รับความนับถืออย่างรวดเร็ว พ.ศ. 1820 พ่อขุนรามคําแหง เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงสดับกิตติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกาวงศ์แล้วอาราธนา พระมหาเถรสังฆราช จากนครศรีธรรมราชเข้ามาพํานัก ณ วัดอรัญญิก ในกรุงสุโขทัย พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ก็รุ่งเรืองแต่นั้นมา เบื้องต้นยังมีพระสงฆ์ 2 พวก คือ คณะสงฆ์เดิมกับคณะสงฆ์ลังกาวงศ์ แต่ในที่สุดได้รวมเข้ามาเป็นนิกายเดียวกัน ส่วนพระพุทธศาสนามหายานก็เสื่อมแล้วสูญไป ในรัชกาลนี้ได้นํา พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งสร้างในลังกาขึ้นมาจากนครศรีธรรมราชไว้ ณ กรุงสุโขทัยด้วย (ชินกาลมาลีปกรณ์ว่า ได้พระพุทธสิหิงค์มาใน พ.ศ. 1800 รัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์) ศิลปะแบบลังกาเริ่มเข้ามาแทนที่ศิลปะแบบมหายาน เช่น เจดีย์พระมหาธาตุนครศรีธรรมราชแปลงรูปเป็นสถูปแบบลังกา เป็นต้นพ.ศ. 1897 พระเจ้าลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 ขึ้นครองราชย์ ทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชเมืองลังกานามว่า สุมนะ เข้ามาสู่สุโขทัย ใน พ.ศ. 1904 ครั้นออกพรรษาแล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จออกผนวชชั่วคราว ณ วัดอรัญญิก ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง ทรงสั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชนด้วยพระองค์เอง และเผดียงพระ #เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Comments